วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2562

ประวัติของกระดาษสา

ความเป็นมาของกระดาษสา

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ กระดาษสา


              กระดาษสา มีมานาน 20 กว่าปีแล้วโดย นายเจริญ เหล่าปิ่นตา ได้สืบทอดการทำกระดาษสา มาจากคุณทวด ซึ่งในสมัยก่อนนั้นไม่ได้ทำกันอย่างแพร่หลายเหมือนสมัยนี้ จะทำกันเฉพาะเมื่อต้องการเขียนยันต์ ทำไส้เทียนและทำตุงของเชียงใหม่เท่านั้น ตั้งแต่นั้นมาก็ได้มีการพัฒนาการทำกระดาษสาจากที่เคยทำสีขาวก็คิดหาวิธีทำเป็นหลายๆสี และมีลวดลายมากยิ่งขึ้น ซึ่งปรากฏว่าได้รับความสนใจจากคนไทยและต่างประเทศเป็นอย่างมาก ทำให้ท่านมีกำลังใจที่จะผลิตงานศิลปะ กระดาษสามากยิ่งขึ้น แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆเช่น สมุดโน้ต ถุงกระดาษ ดอกไม้ ฯลฯ และยังได้เผยแพร่กระทำกระดาษสาไปยังหมู่บ้านอื่น ๆ และสอนวิธีการทำกระดาษสาให้เพื่อเป็น การอนุรักษ์ศิลปะของไทยอีกด้วย ที่ยึดหลักการประกอบอาชีพในการทำกระดาษสา สืบทอดจากบรรพบุรุษของบ้านต้นเปาซึ่งเป็นแหล่งผลิตกระดาษสาดั่งเดิมของเชียงใหม่ โดยในอดีตการทำกระดาษสานั้นเพื่อนำไปใช้ในการผลิตร่มและพัด โดยแหล่งผลิตร่มและพัดอยู่ที่บ้านบ่อสร้าง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ นอกจากนี้ยังใช้ในการทำไส้เทียน ทำตุงและทำโคมลอย ซึ่งกระดาษสายังไม่เป็นที่ต้องการของท้องตลาดมากนัก การทำกระดาษสาจึงอยู่เฉพาะครอบครัวของนายเจริญ เหล่าปิ่นตา และนางทองคำ เหล่าปิ่นตา เท่านั้น จนกระทั่งต่อมากระดาษสา และผลิตภัณฑ์จากกระดาษสาได้มีการส่งเสริมการอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อย่างจริงจังประมาณปี พ.ศ. 2537 – 2538 มีการจัดงานแสดงและจำหน่ายกระดาษสาและผลิตภัณฑ์ การจัดการประกวดกระดาษสา ตลอดทั้งการฝึกอาชีพการผลิตกระดาษสาและผลิตภัณฑ์ การบริการให้คำปรึกษาแนะนำพัฒนาเทคนิคการผลิต เครื่องมือเครื่องจักรในการผลิตต่าง ๆ ทำให้คนเริ่มรู้จักและสนใจกระดาษสากันมาก และรู้จักบ้านต้นเปาว่าเป็นแหล่งผลิตกระดาษสาด้วยมือ แบบดั่งเดิมของจังหวัดเชียงใหม่ กระดาษสาและผลิตภัณฑ์จากกระดาษสาจากบ้านต้นเปาได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดหลายประเภทและหลายครั้ง ชื่อเสียงของกระดาษสาบ้านต้นเปาเริ่มเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปมากขึ้น ประกอบกับตลาดกระดาษสาและผลิตภัณฑ์กระดาษสาในเมืองไทยเริ่มขยายต่อเนื่องทั้งในและต่างประเทศ บางคนมารับงานไปทำที่บ้านเป็นอาชีพเสริมให้กับครอบครัว นอกจากนั้นยังมีผู้ผ่านการฝึก การทำกระดาษสาและ ผลิตภัณฑ์จากกระดาษสา จากบ้านอนุรักษ์กระดาษสาได้ไปประกอบอาชีพเป็นผู้ผลิตอุตสาหกรรมในครัวเรือนของตนเอง ถ้าหากไม่สามารถหาตลาดจำหน่ายได้เอง ก็จะนำผลิตภัณฑ์มาฝากจำหน่ายหรือขายให้ทางบ้านอนุรักษ์กระดาษใบเตยหอม

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ใบเตยหอม

สมุนไพรเตยหอมนั้นคนไทยคุ้นเคยกันมานาน เนื่องจากอดีตนิยมนำเตยหอมมาประกอบอาหารและขนมหวาน เช่น ไก่อบห่อใบเตย ใช้แต่งกลิ่นเวลาหุงข้าวเจ้าและข้าวเหนียว หรือนำไปแต่งกลิ่นและสีของขนม เช่น วุ้นกะทิ ขนมชั้น ขนมเปียกปูน ขนมลอดช่อง ขนมขี้หนู ฯลฯ เตยหอมมีชื่อเรียกตามท้องถิ่นว่า ปาแนะวองิง หวานข้าวไหม้ ปาเนถือจิ ปาหนัน พั้งลั้ง เตยหอมจัดเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ขึ้นเป็นกอ ชอบขึ้นในที่ชื้นและใกล้น้ำ ลำต้นกลมต่อเป็นข้อ ๆ ข้อที่อยู่ใกล้โคนลำต้นจะมีรากงอกออกมาเพื่อค้ำลำต้น ใบจะออกจากลำต้นเรียงเวียนแน่นรอบลำต้น ใบมีสีเขียว รูปเรียวยาวคล้ายหอก ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ไม่มีหนาม ใบมีกลิ่นหอมเย็น ไม่มีดอก ขยายพันธุ์โดยใช้หน่อเล็ก ๆ นำมาปลูก ส่วนที่นำมาใช้เป็นยาคือ ใบ โดยใบเตยประกอบด้วยน้ำมันหอมระเหยและมีสีเขียวของคลอโรฟิลล์ ซึ่งในน้ำมันหอมระเหยประกอบไปด้วยสารหลายชนิด ใบเตยใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ ช่วยลดการกระหายน้ำ ซึ่งเมื่อเรารับประทานน้ำใบเตยจะรู้สึกชื่นใจและชุ่มคอ ส่วนรากใช้เป็นยาขับปัสสาวะและรักษาโรคเบาหวาน ในปัจจุบันได้มีการทำศึกษาวิจัย โดยนำน้ำต้มรากใบเตยหอมไปทดลองในสัตว์ทอลอง เพื่อดูฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด ปรากฏว่าสามารถลดน้ำตาลในเลือดของสัตว์ทดลองได้ ส่วนการศึกษาวิจัยในคน หมอได้นำใบเตยหอมมาผลิตในรูปแบบชาชง บรรจุซองละ 6 กรัม ให้คนปกติรับประทานวันละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 7 วัน ผลปรากฏว่าระดับน้ำตาลในเลือดหลังรับประทานชาชงใบเตยลดลงอย่างมาก จึงนับได้ว่าสมุนไพรใบเตยหอมนั้นเป็นสมุนไพรอีกชนิดหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ในผู้ป่วยโรคเบาหวานได้ ส่วนการทดลองนี้จะมุ่งเน้นที่จะทำกระดาษสาจากใบเตย เพื่อจะศึกษาว่าใบเตยหอม สามารถนำมาทำกระดาษสา ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าทดลอง
ขั้นตอนการทำกระดาษสา
การทำกระดาษสาด้วยมือ มีขั้นตอนหลัก 4 ขั้นตอน คือ

                               à¸œà¸¥à¸à¸²à¸£à¸„้นหารูปภาพสำหรับ การทำกระดาษสา
1. การเตรียมวัตถุดิบ ได้แก่ การคัดเลือกวัตถุดิบ การตัด การแช่น้ำ การต้มและการล้าง

                            
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การทำกระดาษสา
2. การทำให้เป็นเยื่อ 

                               à¸œà¸¥à¸à¸²à¸£à¸„้นหารูปภาพสำหรับ การทำกระดาษสา  
3. การทำเป็นแผ่นกระดาษ

                               à¸£à¸¹à¸›à¸ à¸²à¸žà¸—ี่เกี่ยวข้อง
4. การลอกแผ่นกระดาษและตกแต่งเพิ่มเติม
แหล้งอ้างอิงค์
https://www.facebook.com/1545384475500579/posts/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%882%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%AA%E0%B8%B2-%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%99-20-%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%A2-%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%8D-%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%95/1564004706971889/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผลิตภัณฑ์จากกระดาษสา

                                    กระดาษสาทำอะไรได้บ้าง                                                               หมวกจากกระ...